แชร์

หากป่วย เป็นโรคซึมเศร้า ชนิดเรื้อรัง ต้องทำอย่างไรบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 29 มิ.ย. 2024
142 ผู้เข้าชม

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงและอาจป่วยเป็น โรคซึมเศร้าระยะแรก นั้น หากปล่อยไว้นานและเรื้อรัง ความรุนแรงของอาการจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นโรคซึมเศร้าระยะอันตราย ที่อาจส่งผลเสียทั้งกับสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย นอกเหนือจากความรุนแรงของอาการแล้ว เราจะมาดูกันว่าหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการจากโรคซึมเศร้า ต้องทำอย่างไร สามารถแก้ไขหรือจัดการอย่างไรในเบื้องต้นได้บ้าง


สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า ชนิดเรื้อรัง

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้น เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของสารสื่อประสาท 3 ชนิด ประกอบด้วย ซีโรโตนิน (Serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และ สารโดปามีน (Dopamine) ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง เมื่อมีสิ่งมากระตุ้นต่างๆ ทั้งจาก ความเครียด, ความสูญเสียครั้งใหญ่, ความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์ หรือ เรื่องอื่นๆ ในชีวิต


เมื่อเกิดปัจจัยเหล่านี้ขึ้นและปล่อยไว้ไม่ได่รับการวินิจฉัยหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้ความรุนแรงของอาการมีมากขึ้น และสุดท้ายจึงส่งผลเสียในระยะยาวทั้งต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย


อาการของโรคซึมเศร้า ระยะรุนแรง

ในผู้ป่วยซึ่มเศร้า ที่อยู่ในระยะรุนแรงและการทำงานของสารสื่อประสาทผิดปกติมานาน จะเกิด ภาวะซึมเศร้ารุนแรงและมีอาการโรคจิต (Severe depressive episode with psychotic symptoms)

ซึ่งมีอาการที่สังเกตได้เช่น

- อาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน (Hallucinations)

- อาการหลงผิด (Delusion) 

- รู้สึกแย่และคิดว่าตัวเองสมควรได้รับโทษแล้ว

- รู้สึกรุนแรง รวมทั้งมีการคิดถึงการทำร้ายตัวเองไปจนถึงฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง


ซึ่งสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยที่รุนแรง จะมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อๆ กันในแต่ละวัน


ป่วยเป็นซึมเศร้า ต้องกินยาไปตลอดชีวิตไหม ?

ในส่วนของการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้านั้น จะมีการรักษาควบคู่กันไปทั้งการทานยาต้านเศร้า (Antidepressants) และการทำจิตบำบัด (Psychotherapy) สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีอาการปานกลางถึงขั้นรุนแรงนั้น โดยทั่วไปจะมีการให้ยาเพื่อรักษาสมดุลของสารสื่อประสาท ควบคุมไปกับอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น สภาวะเครียด อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น


โดยจะมีการจ่ายยาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จนกว่าอาการจะดีขึ้นและไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับยาไปตลอดชีวิต หากการรักษาเป็นไปได้ด้วยดี คนไข้สามารถหยุดใช้ยาได้ตามคำแนะนำของจิตแพทย์ผู้ดูแล


วิธีรับมือเมื่อคนใกล้ตัว ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น การพาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์และรับคำแนะนำแบบรายบุคคลจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้สิ่งที่ต้องระวังคือการไม่แสดงออกถึงความเข้าใจที่ผิดๆ หรือ มองว่าสิ่งที่ผู้ป่วยพบเจอนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย คำพูดที่ควรระวังเช่น

- ป่วยแค่นี้เอง

- อาการแค่นี้เอง ไม่เห็นเป็นไร

- คนอื่นยังอยู่ได้ แค่นี้ไม่เท่าไหร่หรอก 

- (ในบางราย) สู้ๆ นะ เอาใจช่วย

ซึ่งประโนคข้างต้นโดยทั่วไปจะเป็นการบั่นทอนจิตใจผู้ป่วยในทางอ้อมอีกด้วย ดังนั้น เราขอแนะนำประโยคที่เหมาะกับการสื่อสารผู้ป่วยซึมเศร้าเมื่อมีอาการ เช่น

- ฉันอยู่ข้างๆ เธอเสมอนะ

- ฉันพร้อมรับฟังและมีอะไรก็บอกกันได้เสมอนะ 

- เธอยังมีฉันนะ

และเน้นการรับฟังโดยไม่ตัดสินเท่าที่จะทำได้ เพื่อประคองจิตใจผู้ป่วยในช่วงเวลายากลำบาก

และหากคุณสังเกตอาการของคนรอบตัวแล้วยังไม่ดีขึ้น ให้คลินิกสุขภาพจิต Smind ได้ช่วยดูแล คัดกรองและประเมินการรักษาได้เลยครับ 


บทความที่เกี่ยวข้อง
"อารมณ์แปรปรวน" ก่อนมีประจำเดือน  อันตรายมั้ย แค่ไหนที่เรียกว่าผิดปกติ 
"อารมณ์แปรปรวน" ก่อนมีประจำเดือนอันตรายมั้ย แค่ไหนที่เรียกว่าผิดปกติ
4 ต.ค. 2024
6 สาเหตุหลักความเครียด ของผู้ดูแล ผู้ป่วยซึมเศร้า ขั้นรุนแรง
นอกเหนือจากตัวผู้ป่วยซึมเศร้าขั้นรุนแรง "ผู้ดูแล" ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่เกิดความเครียด วิตกกังวลต่อการต่อการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยเช่นกัน 6 สาเหตุหลักที่นำไปสู่ความเครียดมีอะไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจไปด้วยกัน
29 มิ.ย. 2024
อาการโรคซึมเศร้า ระยะแรก
โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งโดยการเกิดอาการอาจมีสาเหตุทั้งจากสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่เข้ามา สมดุลสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ ฯลฯ วันนี้ SMIND จะพาคุณมาดูรายละเอียดของอาการโรคซึมเศร้าระยะแรก
29 มิ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy